Daily Archives: ธันวาคม 2, 2011

“หญ้าครุน” ทำนายฟ้าฝนด้วยภูมิปัญญาแต่โบราณ

มาตรฐาน

หญ้าครุน

วันนี้ในระหว่างที่ผมได้ค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับระบบการเตือนภัยจากน้ำท่วม ดินถล่มจากเวปไชต์ต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ ผมเองมาสะดุดกับเรื่องนึงที่ผมเองไม่เคยรู้มาก่อนเกี่ยวกับวิธีการสังเกตุฟ้าฝนจากธรรมชาติ ซึ่งได้รับคำตอบที่น่าสนใจจากภูมิปัญญาท้องถิ่น  ที่ใช้วิธีการสังเกตุจากต้นไม้ใบหญ้าตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณ จึงขอนำมาเขียนเป็นบทความ สิ่งที่ผมอยากพูดถึงคือ  “หญ้าครุน”

ชื่อสามัญ หญ้าชันกาด (ภาคกลาง) หญ้าอ้อน้อย แขมมัน (เชียงใหม่) หญ้าครุน (ภาคใต้) torpedo grass

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เกษตร เป็นพืชที่มีอายุหลายปี มีเหง้าหรือลำต้นใต้ดิน และมีไหล ลำต้นตั้ง หรือ โคนต้นทอดนอน และชูส่วนปลายขึ้น สูง 75 – 100 เซนติเมตร ลำต้นอวบน้ำแต่เหนียว ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 – 4.3 มิลลิเมตร แตกรากตามข้อ และแตกหน่องอกเป็นต้นใหม่ ใบกว้าง 0.9 – 1.1 เซนติเมตร ยาว 18 – 27 เซนติเมตร กาบใบยาว 7.4 – 9.1 เซนติเมตร รูปร่างใบเรียวไปที่ปลายใบ ที่ฐานใบจะมีลิ้นใบ (ligule) สั้นมาก เป็นแผ่นปลายเป็นเส้นๆ (membranous frayed) สูง 0.5 มิลลิเมตร และมีขนยาว 4 – 5 มิลลิเมตร จำนวนเล็กน้อยบริเวณหลังลิ้นใบ ใบด้านหน้ามีขนสีขาวจำนวนมาก หลังใบไม่มีขน ขอบกาบใบมีปุยขนสีขาวจำนวนมาก แต่ตัวกาบใบไม่มีขน ใบมีสีเขียวค่อนข้างเข้ม ขอบใบเรียบ (entire) ความยาวช่อดอก 28 – 34 เซนติเมตร ขยายพันธุ์โดยเมล็ด ลำต้น และเหง้า

แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (SN 049) อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช (SN 058) อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (PC 027) อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ (PC 073) อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี (PC 089) อำเภอพระยืน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น (PC 301, PC 315) อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ (PC 386)

หญ้าครุน

วิธีการสังเกตนั้น จะดูที่หญ้าชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า “หญ้าครุน” ซึ่งงอกตามท้องไร่ท้องนาทั่วไป โดยดูที่ใบสมบูรณ์ ให้ดูที่รอยกิ่วที่ใบ หรือจะเรียกว่ารอยหยักก็ได้ ไปนี้ชาวบ้านบอกว่ามีรอยกิ่วแค่ 1 หยัก แปลว่าปีนี้น้ำน้อย จะมีฝนตกหนักและอาจเกิดน้ำหลากแค่ 1 ครั้ง ผิดกับที่ผ่านมา ที่ใบหญ้าครุนมีรอยกิ่วมากถึง 3 หยัก ซึ้งน้ำจะมาก น้ำท่วมใหญ่

      เรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หยิบฉวยเอาจากความเข้าใจธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ชาวบ้านกับธรรมชาติอยู่ด้วยกันมานาน จนเกิดการเรียนรู้ว่าธรรมชาติเป็นอย่างไร และสามารถที่จะใช้ธรรมชาติให้เป็นประโยชน์และยั่งยืน จนเรียกได้ว่าเป็นภูมิปัญญาอันบริสุทธ์ เพราะปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติแวดล้อมนั้นได้ ขอยกตัวอย่างเรื่องฟ้าฝน เรื่องของพืชที่รับประทานแก้กันได้ เพื่อความทันสมัยผมขอยกตัวอย่างเรื่องฟ้าฝนอีกเรื่องหนึ่งมานำเสนอ   “ชาวบ้านบอกว่า ถ้าดอกชุมเห็ดยังไม่โรย เชื่อได้เลยว่ายังจะมีฝนตกอีก ถึงแม้ว่าดอกขี้ไก่(หญ้าสาบเสือ หรือหญ้าบ้านร้าง) จะบานผสมผสานขึ้นมาก็ตาม ปรกติถ้าถ้าหญ้าขี้ไก่ ออกดอกจะเป็นช่วงที่ฝนหยุด เพราะดอกไม้ชนิดนี้แพร่พันธ์โดยการแตกกระจายออกเป็นกลุ่มดอกถ้าดอกถูกฝนอุ้มน้ำ ไม่สามารถลอยปลิวไปได้ หรือถ้าแมงมุมชักใยเฉียง ๆ แสดงว่าจะยังมีฝนตกอีกเช่นกัน  ถ้ามดขนไข่อพยพ หรือขึ้นที่ดอน แสดงว่าฝนจะตกอีก
            คราวนี้มาดูว่าหลังจากฝนตกแล้ว น้ำจะท่วมสูงเท่าไร ให้สังเกตการวางไข่ของหอยโขง หรือหอยเชอรี่ ลุงเสริฐบอกว่าถ้าหอยวางไข่สูงขนาดไหน (เท่าไร) ให้วัดลงมาประมาณ 1 ฝ่ามือ ตรงนั้นคือระดับน้ำที่ จะท่วมถึง การสังเกตไข่หอยโขงนี้ให้ดูหลายตัวแล้วนำ้มาเปรียบเทียบกัน
            คำบอกเล่าของบรรพบุรุษของเราที่เฝ้าสังเกตการเปลียนแปลงของธรรมชาติ ถ้าจดจำเขียนเป็นตำราคงได้หลายเล่มใหญ่ ต่อจากนี้ไปเราลูกหลานคงต้องมาเฝ้าสังเกตความเปลียนแปลงของธรรมชาติ เรียนรู้ที่จะอยู่รวมกันกับธรรมชาติ เหมือนกับที่บรรพบุรูาของเราได้ปฏิบัติมา ก่อนจากเกือบลืมทุกอย่างต้องเป็นธรรมชาติ  อย่ารู้มากแล้วไปปรุ่งแต่งจนหาความจริงไม่ได้ ก็น่าแปลก และเป็นความรู้ใหม่ ที่แม้แต่ต้นไม้ใบหญ้าก็ยังล่วงรู้เหตุการณ์ตามธรรมชาติ

ขอบคุณเวปกิมหยงดอทคอมสำหรับเรื่องราวดีๆที่ผมนำมาเผยแพร่ต่อ

ศูนย์สำรวจอุทกวิทยาที่ 14 (ยะลา) เข้าร่วมงานปลูกไม้เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554

มาตรฐาน

ศูนย์สำรวจอุทกวิทยาที่ 14 (ยะลา)เข้าร่วมงานปลูกไม้เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554

   ศูนย์สำรวจอุทกวิทยาที่ 14 (ยะลา)  นำโดย นายหมัดยูโส๊ป บุญทวี พร้อมด้วย นายเจริญ วิเชียร , นายสมบัติ สีมา , นางทัดทรวง สุพรรณ และนายฮาซัน ตอแลมา เข้าร่วมงานปลูกไม้เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ที่หมู่ที่ 6 บ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา